วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผลิตภัณฑ์ชุมชน


1.ผลิตภัณฑ์จากก้านจาก โดยทำเป็น เสวียนหม้อ, กรอบรูป, จานรองแก้ว, ถาด, กระเช้า2.กะปิ3.น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น4.ผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอยกัน เช่น โมบาย ฯลฯ

   






การเตรียมตัว และข้อพึงปฏิบัติ

การเตรียมตัว และข้อพึงปฏิบัติ 

การเตรียมตัวของนักท่องเที่ยว
•     ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน•     สเปรย์ป้องกันยุงและแมลง•     ครีมทากันแดด•     เสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย และสุภาพ•     กล้องถ่ายรูป  ข้อพึงปฏิบัติของนักท่องเที่ยว
1.นักท่องเที่ยวต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สุภาพ เรียบร้อย ผู้หญิงห้ามใส่เสื้อโชว์ไหล่ และห้ามสวมใส่กางเกงที่สั้นเหนือเข่า2.ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม ประเพณีของชุมชน3.ห้ามเล่นการพนัน4.ห้ามดื่มสุราและใช้สารเสพติดทุกชนิดในชุมชน5.ห้ามมีเรื่องชู้สาว6.ห้ามทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม7.ห้ามส่งเสียงดังในยามวิกาล


โปรแกรมท่องเที่ยว(ต่อ)

โปรแกรมท่องเที่ยวบ้านลีเล็ด 1 วัน 1 คืน


วันที่ 1                   10.00 น. ถึงกลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์เช้า                        แนะนำประวัติของชุมชน, กลุ่มท่องเที่ยว, กฎกติกา, โปรแกรม                             เยี่ยมชมกลุ่มอาชีพ(12)         การทำกะปิ(13)         เยี่ยมชมกลุ่มทำใบจากยาสูบเที่ยง                       รับประทานอาหารกลางวันที่กลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์บ่าย                        ล่องเรือชมระบบนิเวศป่าชายเลน (ดูนก, ดูลิงแสม, ต้นไม้ในป่ายเลน, ป่าลำพูเกิดใหม่)                                ชมวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน, ปลูกป่า (ต้นจาก) / หาหอย                                นั่งเรือไปศูนย์เรียนรู้ (ศึกษาระบบนิเวศต้นไม้ป่าชายเลน Walk way)
                                นั่งเรือกลับกลุ่มท่องเที่ยวเย็น                         แยกย้ายเข้าบ้านพักโฮมสเตย์                                ทำกิจกรรมร่วมกับบ้านพัก พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้                                รับประทานอาหารเย็นค่ำ                           ชมวงจรชีวิตหิ่งห้อย                                แยกย้ายเข้าบ้านพัก นอนหลับพักผ่อนวันที่ 2เช้า                          รับประทานอาหารเช้า                                กล่าวคำอำลา เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ โปรแกรมท่องเที่ยวบ้านลีเล็ด 1 วัน (เช้าไป-เย้นกลับ)08.30 น. ถึงกลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ กล่าวต้นรับ แนะนำประวัติชุมชนม กลุ่มการท่องเที่ยวมกฎกติกา, โปรแกรม09.00 น. ล่องเรือชมระบบนิเวศป่าชายเลน (ดูนก, ดูลิงแสม, ต้นไม้ในป่าชายเลน, ป่าลำพูเกิดใหม่, ชมวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน, ปลูกต้นจาก/หาหอย/ช้อนกุ้ง)12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันที่กลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์13.30 น. เยื่ยมชมกลุ่มอาชีพ•             การทำกะปิ•             เยี่ยมชมกลุ่มทำใบยาสูบ16.00 น.                 กล่าวคำอำลา เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

โปรแกรมท่องเที่ยว

โปรแกรมท่องเที่ยว


 โปรแกรมท่องเที่ยว
วันที่ 1                     

10.00 น. ถึงกลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์เช้า    แนะนำประวัติของชุมชน, กลุ่มท่องเที่ยว, กฎกติกา, โปรแกรม       ชมวิถีชีวิตการประกอบอาชีพของผู้คนในชุมชน(3)          การทำกะปิ(4)          การเย็บจากทำหลังคา(5)          การทำนากุ้ง

เที่ยง        รับประทานอาหารกลางวันที่กลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์

บ่าย         เยี่ยมชมกลุ่มอาชีพของผู้คนในชุมชน(6)          การทำใบจากยาสูบ(7)          ดูลิงขึ้นมะพร้าว(8)          สวนมะพร้าว โรงมะพร้าว

เย็น           แยกย้ายเข้าบ้านพัก ทำกิจกรรมร่วมกับบ้านพัก(9)          ทำอาหาร(10)        พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้(11)        รับประทานอาหารเย็น

ค่ำ             ชมวงจรชีวิตหิ่งห้อย               กิจกรรมทำขนมจาก               แยกย้ายเข้าบ้านพัก นอนหลับพักผ่อน
วันที่ 2

เช้า                          รับประทานอาหารเช้าที่บ้านพักเดินทางจากบ้านพักมาที่กลุ่มท่องเที่ยวอธิบายกฎกติกาการล่องเรือล่องเรือชมระบบนิเวศป่าชายเลน (ดูนก, ดูลิงแสม, ต้นไม้ในป่ายเลน, ป่าลำพูเกิดใหม่)ชมวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านปลูกป่า (ต้นจาก) / หาหอยเที่ยง                       รับประทานอาหารกลางวันที่เกาะนางลอย (นำอาหารใส่ปิ่นโตมาจากบ้านพัก)                                อธิบายเกี่ยวกับจุดเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฎหมายบ่าย                        นั่งเรือดูเขตอนุรักษ์พิเศษ (ที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ)นั่งเรือไปศูนย์เรียนรู้ ศึกษาระบบนิเวศต้นไม้ป่าชายเลน (Walk way)
นั่งเรือกลับกลุ่มท่องเที่ยวกล่าวคำอำลา เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ 

อาหาร

อาหาร

แหล่งอาหารที่สำคัญของชาวลีเล็ด คือ ทะเลกับป่าชายเลน  วัตถุดิบที่ได้คือ กุ้ง, หอย, ปู, ปลา อีกส่วนได้มาจากสัตว์ที่ชาวบ้านเลี้ยงเอง เช่น ไก่และหมู ผักที่นำมาทำอาหารก็หาได้จากในท้องถิ่น มีผักพื้นบ้านเช่น นกจาก, ลูกจากอ่อน, ลูกเขาคัน, ลูกลำแพน, ดอกลำพู, เหม่งมะพร้าว, เห็ดแครง ฯลฯ 
- เคล็ดลับในการทำอาหารทะเลให้อร่อยของชาวลีเล็ด
คือ อาหารต้องมาจากทะเลสด ๆ เวลาปรุงควรให้น้ำแกง หรือน้ำมันเดือด และพยายามอย่าคน เพื่อลดกลิ่นคาว ต้องปรุงรสชาติให้เข้มข้น - ความเชื่อด้านอาหารก็มี เช่น
กินแกงขี้เหล็ก ทำให้ระบบขับถ่ายดี
ต้มใบทับทิมกินน้ำ แก้ท้องเสียต้มรากขี้เดือน กินน้ำ แก้ท้องอืดน้ำต้มใบฝรั่ง แก้ปวดท้องน้ำต้มใบชุมเห็ด ลดอาการเมาสุราน้ำมะพร้าว  ให้สุนัขและแมวกินเวลาโดนยาเบื่อ - เมนูอาหารพื้นบ้าน จำแนกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1.  ประเภทปลา
2.  ประเภทหมู ไก่
3.  ประเภทแกงทั่วไป
4.  ประเภทน้ำพริก ผักจิ้ม

จุดเด่น และกิจกรรมท่องเที่ยว

จุดเด่น และกิจกรรมท่องเที่ยว

  แหล่งท่องเที่ยวจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวของชุมชน / สถานที่เด่น1.  ป่าชายเลน ป่าชายเลนบ้านลีเล็ด ตั้งอยู่ในพื้นที่อ่าวบ้านดอน มีผืนน้ำทะเลอันกว้างใหญ่ ล้อมรอบด้วยป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ที่สำคัญหลายชนิด เช่น ลำพู, โกงกาง, แสม, ถั่ว, ลำพูหิน, ตะบูน, หลุมพอสามารถนำไม้มาใช้ในงานก่อสร้างได้ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรก็มี เช่น เหงือกปลาหมอ รักษาโรคมะเร็ง, ย่านขี้เดือน รักษาโรคท้องอืด, แสมรักษาโรคผอมแห้ง แก้ลม ขับเลือด ฯลฯ และยังมีอีกหลายชนิด เช่น ปรงทะเล, จาก, ลำแพน, หน่อเซียน, ปอทะเล และพืชเล็ก ๆ เช่นตะไคร่น้ำสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนมี ลิงหางยาว, นกกระยาง, นกกะปูด, หิ่งห้อย, งู, ผึ้ง, ต่อ, ปูทะเล, ปูเปี้ยว, หอยจุ๊บแจง, หอยกัน ฯลฯ2.  หิ่งห้อย เป็นกิจกรรมที่แตกต่างจากการชมหิ่งห้อยที่อื่น เพราะที่นี่จะเป็นการนำชมวงจรชีวิตหิ่งห้อย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย และวัฏชีวิตของหิ่งห้อยตั้งแต่ไข่จนเติบโตเป็นตัวเต็มวัย3.  ศูนย์เรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ เกิดจากการที่ชาวบ้านหมู่ที่ 4 ร่วมแรงร่วมใจกันนำเงินจากโครงการ SML ของหมู่บ้าน มาสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลน เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ของคนทั้งภายในและนอกชุมชน รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หลังจากการก่อสร้างศูนย์แล้วเสร็จ ทางอำเภอและจังหวัดได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการก่อสร้างทางเดินศึกษาธรรมชาติในป่าชายเลน (Walk Way)
4.  เขตอนุรักษ์พิเศษ เป็นสถานที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ โดยการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทำ มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ และมีการห้ามไม่ให้จับปลาในบริเวณเขตอนุรักษ์พิเศษ5.  กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มใบจากและกลุ่มกะปิ  กิจกรรมท่องเที่ยว
•  ล่องเรือชมธรรมชาติระบบนิเวศป่าชายเลนและลำคลองต่าง ๆ
•  ประกอบกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านตามวิถีชีวิตท้องถิ่น เช่น ร่วมออกหาปลา ถีบกระดาน  จับปู•  ชมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น ลิเกป่า มโนราห์•  เยี่ยมชมกลุ่มอาชีพเสริมในชุมชน เช่น กลุ่มใบจาก กลุ่มกะปิ
•  เรียนรู้วัฏจักรหิ่งห้อย
•  เข้าพักค้างคืนร่วมกับชุมชนในรูปแบบ Home Stay
•  จัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน•  กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การปลูกป่าชายเลน 


ลิเกป่าของลีเล็ด

ลิเกป่า

 คณะลิเกป่า มีหัวหน้ากลุ่มชื่อ นายจำรัส  กลับแดง อายุ 78 ปี ฝึกเล่นลิเกป่ามาตั้งแต่อายุ 19 ปี มักนิยมเล่นในงานวัด งานศพ ในคืนหลังจากที่เผาศพแล้ว ลิเกป่าเล่นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เนื้อเรื่องที่เล่นส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของสามัญชน นำมาจากวรรณคดีบ้าง ชาวบ้านแต่งเองบ้าง เช่น เรื่อง ทินกรรัศมี มณีหยาดฟ้า จันทโครพ ตัวละครก็มีหลายตัวเช่น พระเอก นางเอก พระรอง นางรอง เจ้าเมือง นางเมือง ตัวร้าย แขก นางยักษ์ โจร เสนาอำมาตย์ ตาเจ้า แม่ชี ตัวตลก ฤาษี ส่วนเครื่องแต่งกายก็แตกต่างกันไป เช่น ผู้หญิงจะนุ่งผ้าลาย + เสื้อยืด + กรองคอ + ลูกปัด ชฎา +ต่างหู+ สร้อยคอ ส่วนผู้ชายนุ่งโจงกระเบน + เสื้อยืด + กรองคอ + ลูกปัด + ผ้าคาดพุง ส่วนฤาษี จะใส่ชุดฤาษี + ไม้เท้า และมีหมวกฤาษี เครื่องดนตรีที่ใช้ก็มี รำมะนา +โหม่ง + ฉิ่ง




















วัฒนธรรมประเพณีของลีเล็ด

วัฒนธรรมประเพณี

1.  วันขึ้นปีใหม่ 1 ม.ค. ของทุกปี ชาวบ้านจะนำอาหารไปทำบุญตักบาตรที่วัด เพื่อเสริมสิริมงคลให้ตนเอง และอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถร่วมทำบุญกับชาวบ้านได้2.  วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่า เดือน 3 เช้าทา บุญตักบาตร เย็นร่วมกันเวียนเทียนเพื่อทาบุญและสืบทอดประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนา3.  วันสงกรานต์ วันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี ตอนเช้าทำบุญตักบาตร หลังจากเสร็จพิธี มีการสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ สาดน้ำสงกรานต์เพื่อแสดงความเคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่สืบทอดประเพณี4.  วันจบปีจบเดือน วันแรม 14 ค่ำ เดือน 5 มีการทำบุญตักบาตร การละเล่นพื้นบ้าน เล่นสะบ้า เล่นหญิงไหว้ชายรำ ปัจจุบันมีการแข่งปีนเสาน้ำมัน แข่งพายเรือหัวใบ้ท้ายบอด พายกระทะ ชักเขย่อเป็นการฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ไทย5.  วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วัน เช้านำอาหารไปทำบุญตักบาตร และเวียนเทียน6.  วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 มีการตักบาตร เวียนเทียน7.  วันสวดคลอง นิยมทำในเดือน 6 ของทุกปี เช้าชาวบ้านทำแพเล็ก ๆ ด้วยกาบกล้วย แล้วให้คนในหมู่บ้านนำดอกไม้ธูปเทียนข้าวสาร เส้นผม เล็บ และเศษเสื้อผ้าใส่ลงในแพ นำไปลอยในคลอง เชื่อว่าเป็นการนำเอาสิ่งไม่ดีออกไปจากตัว ชาวบ้านเรียกแพนี้ว่า เรือเจ้าเรือนายจากนั้นนิมนต์พระสงฆ์ลงเรือเพื่อสวดทำพิธี ชาวบ้านจะขับเรือให้พระสงฆ์สวดไปตลอดทางในคลอง เป็นการสะเดาะเคราะห์ ขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากคลอง8.  วันเข้าพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร นำเงินห่อกระดาษดอกไม้ไปวัด ทำพิธีในโบสถ์ เพื่อทำบุญส่งพระเข้าจำพรรษา เนื่องจากเป็นฤดูกาลเพาะปลูกไม่เหมาะที่พระจะออกบิณฑบาต9.  วันรับตายาย (รับเปรต) วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เชื่อว่าเป็นวันที่ยมทูตปล่อยวิญญาณบรรพบุรุษกลับมารับส่วนบุญจากลูกหลาน โดยการนำอาหารคาวหวาน ดอกไม้ ธูปเทียน ผลไม้ และขนมประจำท้องถิ่น ไปทำบุญ เป็นวันที่ลูกหลานพบปะกัน10.  วันส่งตายาย (ส่งเปรต) วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านจะให้ความสำคัญกับวันส่งมากกว่าวันรับ โดยจะเตรียมอาหาร ที่นิยม คือ ข้าวสวย ผัดเปรี้ยวหวาน ทอดมัน แกงส้ม สะตอดอง แกงจืด ขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมที่ขาดไม่ได้ คือ รังนก ขนมไส้เค็ม ขนมลา ขนมเทียน ขนมต้ม ผลไม้ต่างๆ เลี้ยงพระเพล ร่วมรับประทานอาหาร ตอนบ่าย สวดบังสุกุลกระดูก ที่ขาดไม่ได้คือ การตั้งร้านเปรต เพื่อให้วิญญาณที่ไม่มีญาติมารับส่วนบุญ11.  วันออกพรรษา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ทำบุญตักบาตร เพื่อวันที่สิ้นสุดการจำพรรษาของพระสงฆ์12.  งานชักพระทอดผ้าป่า แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ก่อนวันงาน ชาวบ้านร่วมกับพระสงฆ์ทำเรือพนมพระ และรถพนมพระ คืนวันพระ 15 ค่ำ ทำพิธีสวดสมโภชเรือพนมพระ ตกแต่งพุ่มผ้าป่า แรม 1 ค่ำ นิมนต์พระสงฆ์ลงเรือ เพื่อประพรมน้ามนต์ให้กับชาวบ้าน เมื่อถึงอำเภอเมือง ก็เอารถพนมพระร่วมขบวนแห่ไปทั่ว เมือง13.  วันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่า เดือน 12 จะทำเพื่อขอขมาเจ้าแม่คงคาและสะเดาะเคราะห์


ลักษณะทั่วไป และระบบนิเวศของลีเล็ด

ลักษณะทั่วไป และระบบนิเวศ

ลักษณะภูมิประเทศ

    ลีเล็ดเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี   มีพื้นที่ประมาณ 17,266 ไร่  มีประชากรทั้งสิ้น 3,881 คน  ประกอบไปด้วยหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน คือ บ้านบางใหญ่ฝั่งขวา  บ้านคลองราง  บ้านบางใหญ่ฝั่งซ้าย  บ้านบางบุตร  บ้านบางพลา  บ้านบางในบ้าน  บ้านคลองกอ  บ้านบางทึง    สภาพทั่วไปของตำบลลีเล็ดจะเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำไหลผ่าน และบางส่วนอยู่ติดกับทะเล มีน้ำเค็มท่วมถึง  เป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ในอดีตแต่ละหมู่บ้านจะใช้เส้นทางทางน้ำในการสัญจรไปมา ซึ่งนับว่ามีเป็นร้อยสาย เพราะลักษณะสภาพพื้นที่ที่เป็นเช่นนั้นทำให้ประชากรที่อาศัยบริเวณที่ราบต่ำประกอบอาชีพทำสวนมะพร้าว ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ติดกับทะเลจะทำประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพ  นอกจากอาชีพการทำสวนมะพร้าวและประมงพื้นบ้านแล้ว  ในปัจจุบันยังมีการทำนากุ้งร่วมด้วย

   ในตำบลลีเล็ดมีวัดอยู่ 5 วัดด้วยกัน คือ วัดบางใหญ่ วัดบางพลา วัดบางบุตร วัดคลองกอ และวัดตรีธาราราม  มีโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดบางพลา โรงเรียนวัดตรีธาราราม และโรงเรียนบ้านคลองราง   ในปัจจุบันลีเล็ดเป็นตำบลที่มีความเจริญมากขึ้น จากที่เคยสัญจรกันทางน้ำก็เปลี่ยนมาใช้รถแทน มีถนนตัดใหม่เกิดขึ้นหลายสายเชื่อมโยงอำเภอต่าง ๆ กับลีเล็ดให้มีความสะดวกขึ้น บ้านผู้คนจากที่เคยตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง ได้เคลื่อนย้ายมาสร้างใกล้ถนน แต่ยังคงมีความเป็นวิถีชนบท 
ทิศเหนือ                 ติดกับ     ทะเลอ่าวไทย
ทิศใต้                      ติดกับ     ต.ศรีวิชัย อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี
ทิศตะวันออก         ติดกับ     ต.บางโพธิ ์อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี
ทิศตะวันตก           ติดกับ     ต.คลองไทร อ.ท่าฉาง จ.สุราษฏร์ธานี 

ลักษณะภูมิอากาศ

   ลักษณะของภูมิอากาศจะมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน เป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำให้ฤดูร้อนและฤดูฝนมีระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน 

ระบบนิเวศ 

   ระบบนิเวศของตำบลลีเล็ด ที่เป็นระบบนิเวศ 2 น้ำ หรือที่รู้จักกันดีว่าระบบนิเวศ น้ำกร่อยจึงทำให้พื้นที่ของตำบลลีเล็ดมีความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้และพันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะป่าชายเลนผืนใหญ่ที่ เป็นแหล่งอาหารให้กับคนและสัตว์ เป็นที่อยู่อาศัยขยายพันธุ์ของพืชและสัตว์ เป็นแหล่งสร้างอาชีพและรายได้ของชาวบ้าน เป็นวัสดุก่อสร้าง และเชื้อเพลิง เป็นเครื่องมือป้องกันภัยธรรมชาติ   ในป่าชายเลนบ้านลีเล็ด ชาวบ้านเกือบจะทุกเพศทุกวัย ที่ใช้ประโยชน์จากป่า ช่วงเวลาน้ำขึ้น ชาวบ้านจะไปตัดจาก, หาหอย, จับปูเปี้ยว, ปักแร้วปู, ดักอวน ฯลฯ ช่วงน้ำลงก็หาหอยกัน, ถีบกระดานหาหอย, ตกเบ็ดและหาปู 

   ในปัจจุบัน พื้นที่ป่าชายเลนของตำบลลีเล็ด นับว่าเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังจากการดำเนินการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน พื้นที่ของป่าชายเลนได้ขยายเพิ่มขึ้นจำนวน 3,000 ไร่โดยที่ไม่ต้องปลูก เพียงแต่มีการเฝ้าระวังไม่ให้มีการทำประมงผิดกฎหมายในพื้นที่ และผลจากการที่พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นด้วย ชาวบ้านมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

พวกเราพาเที่ยว (journey) ที่ตั้งลีเล็ด

กลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์


 ภูมิภาคและจังหวัด : ภาคใต้ สุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง กลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ 109 หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130

ประวัติความเป็นมา
   ในสมัยที่มีหัวเมืองไชยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง ขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา (ก่อนพ.ศ.2439) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (ร.5) ทรงเสด็จไปบ้านดอน (ทางเรือ) แล้วเจอกับพายุฝน   จึงทรงเสด็จไปตามคลองสายนี้ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นคลองลัด จึงได้ชื่อเรียกชื่อคลองสายนี้ว่า คลองลัด
   ชาวบ้านในคลองลัด  ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ข้าว  จึงมีชาวจีนล่องเรือมารับซื้อข้าวอยู่เป็นประจำ  ชาวจีนจึงเรียก  คลองลัด เพี้ยนไปเป็น  คลองเล็ดสมัย ร.5 ทรงปฏิรูประบบการปกครองท้องถิ่น โดยรวมอำนาจเข้าส่วนกลาง ทรงริเริ่มระบบการปกครองแบบหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดในปี พ.ศ.2445 มีการตั้งเป็นตำบลลีเล็ด   มีขุนลีเล็ดลัทธกิจ (นาค ธดากุล) เป็นกำนันคนแรก   แต่เดิมชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ข้าวปนกับสวนมะพร้าว  เริ่มหันมาทำนา  การทำไร่จึงหมดไปในช่วงนี้
   ส่วนในคลองชาวบ้านไม่กล้าลงไปหาปลา  เพราะมีจระเข้ชุกชุมมาก  ชาวบ้านที่อยู่ริมคลองต้องใช้ไม้กั้นเป็นคอก  เพื่อลงไปอาบน้ำ  ต่อมาไม่นานมีพวกแขกมารับซื้อจระเข้ชาวบ้านจับจระเข้ขายจนหมด  ในที่สุดก็สูญพันธุ์ เมื่อในคลองไม่มีจระเข้ชาวบ้านก็เริ่มหันมาทำอาชีพประมงพื้นบ้าน  พื้นที่ที่เป็นนาข้าวกลายเป็นสวนมะพร้าว
   จนมาถึงปัจจุบัน  อาชีพที่สำคัญของชาวลีเล็ดก็คือ การทำประมงกับสวนมะพร้าว
   จำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,384 คน เป็นชาย 1,682 คน เป็นหญิง 1,698 คน จำนวน 864 ครัวเรือน ประชากรแฝงในสถานที่ทำงานไม่น้อยกว่า 300 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 143.09 คน/ตารางกิโลเมตร

ตารางจำนวนประชากรตำบลลีเล็ด

หมู่บ้าน
จำนวนครัวเรือน
ชาย
หญิง
รวม
หมู่ที่ 1 บ้านบางใหญ่ฝั่งขวา
59
108
100
208
หมู่ที่ 2 บ้านคลองราง
171
360
336
696
หมู่ที่ 3 บ้านบางใหญ่ฝั่งซ้าย
80
143
163
306
หมู่ที่ 4 บ้านบางบุตร
124
240
255
495
หมู่ที่ 5 บ้านบางพลา
148
276
272
548
หมู่ที่ 6 บ้านบางในบ้าน
124
239
251
490
หมู่ที่ 7 บ้านคลองกอ
99
185
198
383
หมู่ที่ 8 บ้านบางทึง
59
131
123
254
รวม
864
1,682
1,698
3,380