วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พวกเราพาเที่ยว (journey) ที่ตั้งลีเล็ด

กลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์


 ภูมิภาคและจังหวัด : ภาคใต้ สุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง กลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ 109 หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130

ประวัติความเป็นมา
   ในสมัยที่มีหัวเมืองไชยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง ขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา (ก่อนพ.ศ.2439) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (ร.5) ทรงเสด็จไปบ้านดอน (ทางเรือ) แล้วเจอกับพายุฝน   จึงทรงเสด็จไปตามคลองสายนี้ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นคลองลัด จึงได้ชื่อเรียกชื่อคลองสายนี้ว่า คลองลัด
   ชาวบ้านในคลองลัด  ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ข้าว  จึงมีชาวจีนล่องเรือมารับซื้อข้าวอยู่เป็นประจำ  ชาวจีนจึงเรียก  คลองลัด เพี้ยนไปเป็น  คลองเล็ดสมัย ร.5 ทรงปฏิรูประบบการปกครองท้องถิ่น โดยรวมอำนาจเข้าส่วนกลาง ทรงริเริ่มระบบการปกครองแบบหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดในปี พ.ศ.2445 มีการตั้งเป็นตำบลลีเล็ด   มีขุนลีเล็ดลัทธกิจ (นาค ธดากุล) เป็นกำนันคนแรก   แต่เดิมชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ข้าวปนกับสวนมะพร้าว  เริ่มหันมาทำนา  การทำไร่จึงหมดไปในช่วงนี้
   ส่วนในคลองชาวบ้านไม่กล้าลงไปหาปลา  เพราะมีจระเข้ชุกชุมมาก  ชาวบ้านที่อยู่ริมคลองต้องใช้ไม้กั้นเป็นคอก  เพื่อลงไปอาบน้ำ  ต่อมาไม่นานมีพวกแขกมารับซื้อจระเข้ชาวบ้านจับจระเข้ขายจนหมด  ในที่สุดก็สูญพันธุ์ เมื่อในคลองไม่มีจระเข้ชาวบ้านก็เริ่มหันมาทำอาชีพประมงพื้นบ้าน  พื้นที่ที่เป็นนาข้าวกลายเป็นสวนมะพร้าว
   จนมาถึงปัจจุบัน  อาชีพที่สำคัญของชาวลีเล็ดก็คือ การทำประมงกับสวนมะพร้าว
   จำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,384 คน เป็นชาย 1,682 คน เป็นหญิง 1,698 คน จำนวน 864 ครัวเรือน ประชากรแฝงในสถานที่ทำงานไม่น้อยกว่า 300 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 143.09 คน/ตารางกิโลเมตร

ตารางจำนวนประชากรตำบลลีเล็ด

หมู่บ้าน
จำนวนครัวเรือน
ชาย
หญิง
รวม
หมู่ที่ 1 บ้านบางใหญ่ฝั่งขวา
59
108
100
208
หมู่ที่ 2 บ้านคลองราง
171
360
336
696
หมู่ที่ 3 บ้านบางใหญ่ฝั่งซ้าย
80
143
163
306
หมู่ที่ 4 บ้านบางบุตร
124
240
255
495
หมู่ที่ 5 บ้านบางพลา
148
276
272
548
หมู่ที่ 6 บ้านบางในบ้าน
124
239
251
490
หมู่ที่ 7 บ้านคลองกอ
99
185
198
383
หมู่ที่ 8 บ้านบางทึง
59
131
123
254
รวม
864
1,682
1,698
3,380

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น